top of page

การฝังเข็มแผนจีน

(Acupuncture)

Acupuncture 1.jpg

"การฝังเข็ม ศาสตร์การรักษาโรคของจีนที่มีประวัติการค้นคว้าและแพร่หลายมาหลายพันปี "

          การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาโรคของจีนที่มีประวัติการค้นคว้าและแพร่หลายมาหลายพันปี การฝังเข็มเป็นวิธีการรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยการใช้เข็มปักตามตาแหน่งจุดเฉพาะต่าง ๆ ของร่างกาย มีจุดประสงค์เพื่อ "ปรับสมดุลร่างกาย ทำให้อวัยวะและระบบการทำงานต่าง ๆ กลับมาทำงานได้เป็นปกติ และที่สาคัญมีผลในการระงับอาการเจ็บปวดอย่างดี" จึงนาไปใช้ในการรักษาโรคปวดต่าง ๆ ได้ดี

          ตามทฤษฎีวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่นั้น มีการค้นคว้าเกี่ยวกับกลไกการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ พบว่า การฝังเข็มเป็นวิธีการกระตุ้นระบบประสาทอย่างหนึ่ง ที่สามารถปรับการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายที่เสียสมดุลผิดปกติไปให้กลับสู่สภาพปกติโดยผ่านทางระบบประสาท ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า "Neuromodulation"

Acupuncture 3.jpg

การฝังเข็มมีผลต่อร่างกายอย่างไร ?


          การฝังเข็ม ณ จุดเดียวกันสามารถปรากฏผลออกมาได้ 2 แบบ คือ อาจ "กระตุ้น" ให้อวัยวะทำงานเพิ่มขึ้น หรืออาจ "ยับยั้ง" ให้อวัยวะทำงานลดลงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพวะของอวัยวะหรือร่างกายของผู้ป่วยในขณะนั้นด้วย
          กล่าวคือ ถ้าอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำางานน้อยเกินไป(hypofunction) การฝังเข็มจะออกฤทธิ์ "กระตุ้น" ให้มันทำงานเพิ่มขึ้นมาสู่ระดับปกติ
         ในทางตรงกันข้าม ถ้าวอวัยวะหรือระบบนั้น ๆ อยู่ในสภาวะที่ทำงานมากเกินไป (hyperfunction) การฝังเข็มกลับจะออกฤทธิ์ "ยับยั้ง" ทาให้ทำงานลดลงไปสู่ระดับปกติ

         ซึ่งในศาสตร์ของจีนก็คือ "การปรับสมดุลของอิน( ความเย็น) และหยาง(ความร้อน) นั่นเอง" การฝังเข็มจึงไม่มีอันตรายจากการใช้เกินขนาด (overdose) หรือการเกิดพิษ (intoxication) เหมือนเช่นกับการใช้ยา


        เมื่อปักเข็มลงไปยังจุดหนึ่ง ๆ แล้วทำการกระตุ้นเข็ม จะเป็นการกระตุ้นตัวรับสัญญาณประสาท (receptor) ของปลายประสาทหลายชนิดที่กระจายอยู่ในแต่ละชั้นของเนื้อเยื่อ นับตั้งแต่ผิวหนัง, เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง, เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (fascia) , กล้ามเนื้อ, เส้นประสาท, หลอดเลือด เป็นต้น ทำให้เกิดสัญญาณประสาทวิ่งผ่านเข้ามาในไขสันหลัง
        สัญญาณประสาทส่วนหนึ่ง จะย้อนออกไปจากไขสันหลังไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่ออวัยวะบริเวณใกล้เคียงที่ถูกเข็มปัก เช่น มีการขยายตัวของหลอดเลือด มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง เป็นต้น

Acupuncture 2.jpg

        การกระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve) ด้วยการฝังเข็ม สามารถก่อให้เกิดสัญญาณประสาทเข้าสู่ก้านสมองและสมอง และมีทางเดินประสาท (pathway) เชื่อมโยงไปยังศูนย์เซลประสาท (neuron center) ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณก้านสมองและฮัยโปธาลามัส แล้วมีสัญญาณประสาทส่งกลับไปควบคุมการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ โดยผ่านระบบประสาทอัตโนมัติที่ไปยังอวัยวะนั้น ๆ


       สัญญาณประสาทอีกบางส่วน จะเคลื่อนที่ขึ้นไปตามไขสันหลังเข้าสู่สมองไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมต่าง ๆ ในสมอง มีการหลั่ง "สารสื่อสัญญาณประสาท" (neurotransmitter) ต่าง ๆ ออกมาหลายชนิด ที่สาคัญคือ เอนดอร์ฟิน (Endorphins) สารตัวนี้มีฤทธิ์ระงับปวดที่แรงมาก ประมาณว่ามันแรงมากกว่ายามอร์ฟีนถึง 1,000 เท่า การฝังเข็มจึงมีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย

       นอกจากนี้ การฝังเข็มยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารฮอร์โมนที่สำคัญออกมาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ACTH และฮอร์โมนคอร์ติโคสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กว้างขวางมาก เช่น การลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นการปลดปล่อยพลังงานภายในร่างกาย เป็นต้น

 

สรุปประโยชน์ของการฝังเข็ม

 

  1. ยับยั้งความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอันตราย1.

  2. ทาให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีการคลายตัว

  3. กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งบริเวณเฉพาะที่และทั่วร่างกาย

  4. ปรับการทางานของอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่เสียสมดุลไปให้กลับสู่สภาพสมดุลตามปกติ

  5. ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนหลายอย่างให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อปรับให้อวัยวะต่าง ๆ ทางานอย่างสมดุลเป็นปกติ

  6. กระตุ้นปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อยู่ในสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ เพื่อ ขจัดสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค ยับยั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้ไวเกิน ยับยั้งปฏิกิริยาการอักเสบ เป็นต้น โดยผ่านฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เป็นสาคัญ

ตัวอย่างโรคที่การฝังเข็มช่วยในการรักษาได้แก่

  1. ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลังเฉียบพลันและเรื้อรัง

  2. ปวดต้นคอ นอนตกหมอน คอเคล็ด ก้มเงยผิดท่า อุบัติเหตุบวม ช้า เคล็ดต่างๆ

  3. ปวดข้อ ปวดขา จากข้อเข่าเสื่อม

  4. นิ้วล็อค ปวดส้นเท้ารองช้า 

bottom of page