top of page

Endoscopic Discectomy

Endoscope%202_edited.jpg

 "หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทไม่ต้องผ่าแผลใหญ่อีกต่อไป ด้วยแผลเล็ก 8 มิลลิเมตร ผ่านกล้องเอนโดสโคป ได้ผลการรักษาแม่นยำ ปลอดภัยสูง ฟื้นตัวเร็ว "

          เทคโนโลยีในการผ่าตัดกระดูกสันหลังในปัจจุบันได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก คือ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี มีภาวะแทรกซ้อนน้อย ลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง และที่สำคัญ คือ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เต็มศักยภาพมากที่สุด การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ปวดแผลน้อยและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น


กล้องเอนโดสโคป (Endoscope) คืออะไร ?
          กล้องเอนโดสโคป (Endoscope) ที่ใช้ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้ายท่อ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มิลลิเมตร มีกล้องรับภาพอยู่ที่ส่วนปลายและสามารถใส่เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กเข้าไปในกล้องเอนโดสโคปได้เลย ดังนั้นผู้ป่วยจะมีแผลผ่าตัดขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตรเพียงแผลเดียว โดยระหว่างผ่าตัดศัลยแพทย์จะสอดกล้องเอนโดสโคปเข้าไปในร่างกายผู้ป่วยเพื่อเอาส่วนของกระดูกหรือหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกผ่านกล้องดังกล่าว

Endoscope%202_edited.jpg

ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope)

          ข้อดีที่เด่นชัดที่สุด คือ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ทำให้ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อย มีโอกาสติดเชื้อที่แผลผ่าตัดน้อย ใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้นลง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น โดยผู้ป่วยส่วนมากจะใช้เวลาในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 1-3 วัน และสามารถลุกเดินได้ทันทีหลังจากผ่าตัดเสร็จ

Endo 4.jpg
Endo%20Sx%20wound%204_edited.jpg

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง เอนโดสโคป (Endoscope)

Open 4.jpg
Open%20Sx%20wound%201_edited.jpg

การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบปกติ


การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) สามารถทำได้ในกรณีใดบ้าง ?
          การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) จะใช้ได้ในกรณีที่มีการทับเส้นประสาทจากหลายๆสาเหตุ เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท และถุงน้ำของข้อต่อกดทับเส้นประสาท (facet cyst)

 

ข้อจำกัดของการผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope)
          การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) อาจจะไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนและจำเป็นต้องใส่เหล็กดามกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยที่มีโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบอย่างรุนแรง โดยการพิจารณาวิธีการผ่าตัดจะขึ้นกับดุลยพินิจของศัลยแพทย์


ผลลัพธ์ของการผ่าตัด
          ผลลัพธ์ของการผ่าตัดสามารถแบ่งได้ตามอาการ คือ
          1. อาการปวดร้าวลงขา ผู้ป่วยส่วนมากจะอาการดีขึ้นทันทีหลังการผ่าตัด บางรายจะไม่มีอาการปวดร้าวลงขาอีกเลย แต่บางรายอาจยังมีอาการหลงเหลืออยู่บ้าง
          2. อาการขาอ่อนแรงและอาการชา ส่วนมากจะไม่ได้ดีขึ้นทันที ต้องทำกายภาพบำบัดเพิ่มเติมเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้น


ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้
          ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนคล้ายกับการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยวิธีอื่นๆ เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อนกลับมาเป็นซ้ำ เส้นประสาทบาดเจ็บทำให้ขาอ่อนแรงหรือชามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบได้น้อยในศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญ

สรุป
          การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ช่วยให้แผลผ่าตัดเล็กลง เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยมีผลลัพธ์ของการผ่าตัดที่ดีและภาวะแทรกซ้อนต่ำในศัลยแพทย์
ที่มีความชำนาญ

Logo_edited_edited.png

InSpine Clinic 

 "Your spine health is our concern."

bottom of page